Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
This thread is locked
กระทู้การเมือง ��าค 6 (แจ้งล่วงหน้าว่ากระทู้การเมืองจะปิดชั่วคราวในเวลา 15...

Reply
Vote
# Mon 23 Jan 2017 : 9:10PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)
วิเคราะห์ พรบ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับใหม่

09/10/2016

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 – 2548 ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมงานกับกรมสรรพสามิต ในการให้ความรู้แก่ผู้ผลิตสุราชุมชนในโครงการจัดอบรมต่างๆ ของกรมฯ ผู้เขียนจึงได้พบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่นักวิชาการในกรมสรรพสามิตอยู่หลายครั้ง มีนักวิชาการท่านหนึ่งได้เอ่ยเปรยๆ ว่ากรมสรรพสามิตมีแผนที่จะปรับปรุงโครงสร้างภาษีใหม่ทั้งหมด โดยยกเลิก พรบ. ต่างๆ รวมทั้ง พรบ. สุรา พ.ศ. 2493 แล้วนำมารวมกันเป็น พรบ. ฉบับเดียว

กาลเวลาล่วงเลยมาสิบกว่าปี ณ บัดนี้ กรมสรรพสามิตได้ร่าง “พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. …” แล้วเสร็จ นำเสนอผ่านคณะรัฐมนตรี และกำลังรอเข้าสู่การพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หากพิจารณาผ่านความเห็นชอบทั้ง 3 วาระ อาจจะประกาศใช้ภายในต้นปี 2560 เว็บสุราไทยขอสรุปใจความสำคัญและผลกระทบของ พรบ. ฉบับใหม่ ต่อวงการสุราไทย


ยกเลิกกฎหมายเก่า

ใน พรบ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. … ที่กำลังจะเข้าสู่สภาฯ ได้ยกเลิก พรบ. ไพ่ พรบ. ยาสูบ พรบ. สุรา พรบ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับเก่า พระราชกำหนด ต่างๆ รวมทั้งสิ้น 46 ฉบับ เป็นอันสิ้นสุดอายุขัยของ พรบ. สุรา พ.ศ. 2493 ที่ใช้บังคับมา 66 ปี



เปลี่ยนจากราคาขายส่งหน้าโรงงานเป็นราคาขายปลีกแนะนำ

การเก็บภาษีสุราในปัจจุบัน ยึดหลักการคำนวณจากมูลค่าและปริมาณ นั่นคือ ถ้าเป็นสุราราคาแพง ก็เก็บภาษีตามมูลค่า แต่ถ้าเป็นสุราราคาถูกแต่มีดีกรีแรง อย่างเช่นเหล้าขาว ก็ให้เก็บภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์ สำหรับการเก็บภาษีตามมูลค่า ปัจจุบันคิดตามราคาขายส่งหน้าโรงงาน แต่ พรบ. ฉบับใหม่ กำหนดให้เก็บภาษีตาม “ราคาขายปลีกแนะนำ” ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า “Recommended Retail Price” โดยเป็นราคาที่ผู้ผลิตกำหนดเป็นราคาขายสุดท้ายที่ผู้บริโภคซื้อ ณ จุดขายปลีก แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยราคาขายปลีกแนะนำ จะคำนวณจาก

1. ต้นทุนการผลิต

2. ค่าบริหารจัดการ

3. กำไรมาตรฐาน

4. ต้องไม่ต่ำกว่าราคาขายต่อผู้บริโภคทั่วไปรายสุดท้ายในตลาดปกติ

ราคาขายปลีกแนะนำที่ใช้คำนวณภาษีนี้ ให้ใช้ราคาขายปลีกที่พบโดยทั่วไป หรือเป็นปกติส่วนใหญ่ เนื่องจากราคาขายปลีกของสินค้าชนิดหนึ่ง ย่อมมีราคาขายแตกต่างกันตามสถานที่จำหน่าย เช่นในห้างโมเดิร์นเทรดอาจจะขายถูกกว่าตามร้านค้าปลีกทั่วไป ก็อาจเกิดข้อถกเถียงว่าจะให้เลือกใช้ราคาไหน


นอกจากนั้นการต้องสำแดงรายละเอียดต้นทุน ค่าบริหาร และกำไร ต่อกรมสรรพสามิต ก็ทำให้ผู้ผลิตเกิดความระแวง เพราะข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับทางการค้า หากเปิดเผยให้รัฐได้ทราบ ก็อาจจะส่งต่อข้อมูลไปให้กับกรมสรรพากร เพื่อนำไปเก็บภาษีรายได้ เพราะรู้ต้นทุนกำไรของผู้ประกอบการอย่างหมดไส้หมดพุง ถือเป็นการล้วงลูกที่ผู้ประกอบการยอมรับไม่ได้ และทราบว่าขณะนี้ทางผู้ประกอบการก็ได้ยื่นหนังสือคัดค้านเสนอต่อคณะกรรมาธิการในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อขอให้แปรญัตติแก้ไขร่าง พรบ. ในส่วนนี้

เหตุที่เปลี่ยนจากการคิดภาษีตามมูลค่าจากราคาขายส่งหน้าโรงงาน มาเป็นราคาขายปลีกแนะนำ คงเป็นเพราะกรมสรรพสามิตต้องการป้องกันผู้ผลิต และผู้นำเข้า ที่แจ้งราคาขายส่งไว้ต่ำเกินความเป็นจริง โดยการใช้ราคาขายปลีกแนะนำ จะเป็นการคำนวณภาษีจากราคาสุดท้ายที่ถึงมือผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า ไม่สามารถตั้งราคาต่ำกว่าความจริงได้

นอกจากนั้น ถ้ากรมสรรพสามิตเห็นว่า ผู้ผลิตจงใจแจ้งราคาขายปลีกต่ำกว่าความเป็นจริง อธิบดีก็มีอำนาจที่จะกำหนดราคาขายปลีกแนะนำได้เอง !! แบบนี้จะเกิดอะไรขึ้นลองคิดดูก็แล้วกัน


เปลี่ยนบัญชีพิกัดอัตราภาษี

ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีแนบท้าย พรบ. มีอัตราภาษีสุราประเภทต่างๆ ตามมูลค่าและตามปริมาณ เป็นเพดานสูงสุดที่ตั้งไว้เผื่อใช้ในอนาคต แต่สำหรับอัตราที่จะประกาศใช้จริง จะออกเป็นกฎหมายลูก (อนุบัญญัติ) ซึ่งยังไม่มีใครทราบว่าจะกำหนดอัตราเป็นเท่าใด อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราที่จะประกาศใช้ จะยังไม่กระทบกับราคาสุราที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมากนัก เพียงแต่เปลี่ยนจากการเก็บภาษีตามราคาขายส่ง มาเป็นราคาขายปลีก ดังเหตุผลข้างต้น

อัตราพิกัดภาษี เพดานสูงสุดแนบท้าย พรบ.



อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า

แต่เดิมไม่มีการแยกสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่น ออกมาเป็นชนิด (ค) แต่ในบัญชีอัตราภาษีนี้ แยกออกมาเป็นอีกชนิดหนึ่ง และกำหนดให้มีพิกัดสูงสุดเท่ากันกับไวน์องุ่น ทั้งนี้น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีการนำไวน์ผลไม้มาผสมกับไวน์องุ่น แล้วเสียภาษีในอัตรา สุราแช่ชนิดอื่น ซึ่งมีอัตราต่ำกว่าภาษีไวน์องุ่นมาก ดังที่เว็บสุราไทยได้อธิบายไว้ก่อนนี้แล้วดังบทความข้างล่าง

[Link]

และเมื่อเว็บสุราไทยได้ข่าวแว่วๆ มา ว่ากรมสรรพสามิตจะปรับอัตราภาษีไวน์ผลไม้ผสมองุ่นให้เท่ากันกับไวน์องุ่น เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย เราก็ได้แจ้งข่าวไว้แล้วในบทความนี้

[Link]

และบัดนี้ข่าวดังกล่าวก็เป็นความจริงเมื่อ พรบ. ภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ ได้เพิ่มประเภทของไวน์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง คือ “ชนิดสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น” และมีอัตราภาษีเท่ากับไวน์องุ่น นั่นคือ ภาษีตามมูลค่า ร้อยละ 30 หรือภาษีตามปริมาณ 3,000 บาทต่อหนึ่งลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (100 ดีกรี)

หมดสิ้นกันเสียที กับไวน์นำเข้าผสมกระเจี๊ยบ ทับทิม แอลเปิ้ล แพร์ พลัม ฯลฯ แล้วติดฉลากโชว์ความเป็นไวน์นอก แต่ขายราคาไวน์โอทอป หรือแม้จะยังมีจำหน่ายอยู่ แต่ก็ต้องขายในราคาสูงขึ้นไม่น้อย



ในร่าง พรบ. สรรพสามิต ฉบับที่กำลังจะเข้าสภา กำหนดให้ไวน์ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นเสียภาษีเท่ากับไวน์องุ่น รีบไปซื้อไวน์ผสมผลไม้ราคา 295 บาท มาตุนไว้ได้แล้ว


ค่าธรรมเนียมแสนแพงจริงหรือไม่

ที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ มีข่าวรั่วในวงการคนทำเหล้า ว่าค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำสุราจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 100,000 บาท (เดิมปีละ 2,000 บาทสำหรับสุรากลั่นชุมชน) ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 (ขายส่ง) ปีละ 100,000 บาท (จากเดิมปีละ 8,250 บาท) และประเภทที่ 2 (ขายปลีก) ปีละ 50,000 บาท (เดิม 1,100 บาท)

จากอัตราค่าธรรมเนียมแนบท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่นี้ กำหนดไว้เช่นนั้นจริง แต่เป็นอัตราเพดานสูงสุด โดยมาตรา 5 ได้เขียนไว้ว่า “ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้” ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ค่าธรรมเนียมจะไม่แพงจนถึงเพดานสูงสุด แต่ก็อาจจะแพงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งขณะนี้เราไม่อาจคาดเดาได้


ค่าปรับเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับยุคสมัย

ในพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ได้กำหนดโทษการผลิตสุราเถื่อน และการขายสุราเถื่อนไว้ คงเป็นราคาที่แพงมากในสมัยนั้น นั่นคือ

มาตรา 30 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 5มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการทำสุราแช่มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

จะเห็นว่า ถ้าทำและขายสุรากลั่นแบบเถื่อน ปรับ 10,000 แต่ถ้าทำคราฟต์เบียร์ ค่าปรับเพียง 200 บาท


แต่ใน พรบ. ฉบับใหม่ กำหนดโทษผู้ทำสุราเถื่อน ไว้ว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (จาก 5,000 บาท เมื่อปี 2493 เพิ่มเป็น 100,000 บาท ในปัจจุบัน)

ผู้ใดขายสุราเถื่อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ของเดิม 5,000 บาท)

ผู้ใดซื้อหรือมีสุราเถื่อนไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (เดิม 1,000 บาท) แต่ถ้าสุรานั้นมีปริมาตรต่ำกว่าหนึ่งลิตร (สมมุติซื้อเบียร์ใต้ดินมาขวดนึง) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ก็พอไหวอยู่นะ)





พรบ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับใหม่ (ใช้แทน พรบ. สุรา 2493) เพิ่มโทษผู้ขายสุราเถื่อนจาก 5,000 เป็น ไม่เกิน 50,000 บาท ผู้ซื้อสุราเถื่อนมีโทษปรับ 2,000 บาท ผู้ผลิต สรถ. มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับหนึ่งแสน #CraftBeer พึงตระหนัก


มีผลบังคับใช้เมื่อไร

ขณะนี้ผู้เขียนยังไม่ได้ข่าวคราวว่าร่าง พรบ. ดังกล่าวผ่านสู่ขั้นตอนใด เพราะเพียงได้รับตัวร่าง พรบ. มาจากเครือข่ายพันธมิตร เพื่อขอความคิดเห็นในการเสนอให้มีการแปรญัติในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากนั้นใน พรบ. ยังกำหนดว่า พรบ. นี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน (6 เดือน) นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป




ร่าง พรบ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. … (PDF) [Link]

เราจึงยังมีเวลาทำมาหากินกันต่อไปอีกเกือบปีแหละนะท่านทั้งหลาย

Reply
Vote




3 online users
Logged In :