Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
This thread is locked
คุยเฟื่องเรื่องผลบอลได้ที่นี่ ��าค 2

Reply
Vote
# Wed 21 Jun 2017 : 12:36AM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5799 post)


บาร์เคลย์ กลุ่มแบงก์ยักษ์อังกฤษถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

กลุ่มธนาคารบาร์เคลย์ สปอนเซอร์หลักของฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และอดีตผู้บริหาร 4 คน ถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดกระทำการฉ้อโกงและจัดหาความช่วยเหลือทางการเงินที่ผิดกฎหมาย เกี่ยวกับการระดมทุนจากกาตาร์ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในช่วงเกิดวิกฤตการเงินปี 2008 หลังการสอบสวนนาน 5 ปี โดยสำนักงานต่อต้านการทุจริตของอังกฤษ (Serious Fraud Office - SFO)

นายจอห์น วาร์ลีย์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบาร์เคลย์ เป็นหนึ่งในผู้บริหาร 4 คนที่ต้องถูกศาลไต่สวนในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้
"ข้อกล่าวหาเกิดขึ้นในบริบทของการระดมเงินทุนของบาร์เคลย์ในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนปี 2008 บาร์เคลย์กำลังรอรายละเอียดเพิ่มเติมจากทาง SFO" บาร์เคลย์ ระบุ


John varley

นอกจากนายวาร์ลีย์ ผู้บริหารอีก 3 คนที่ถูกตั้งข้อหาได้แก่ นายโรเจอร์ เจนคินส์ อดีตวาณิชธนากรอาวุโส, นายโทมัส คาลาริส อดีตหัวหน้าแผนกความมั่งคั่ง ของบาร์เคลย์ และนายริชาร์ด โบธ อดีตหัวหน้าสถาบันการเงินในภูมิภาคยุโรป

พวกเขาถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดกระทำการฉ้อโกงในการระดมทุนเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2008 นอกจากนี้นายวาร์ลีย์ และนายเจนคินส์ ยังถูกตั้งข้อหาเดียวกันนี้เกี่ยวกับการระดมทุนในเดือนตุลาคมปี 2008 และจัดหาความช่วยเหลือทางการเงินที่ผิดกฎหมายด้วย

ทนายความของนายเจนคินส์ เปิดเผยต่อสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า นายเจนคินส์จะ "แก้ต่างให้ตัวเขาเองได้อย่างฉะฉาน" ต่อข้อกล่าวหาทุกข้อ

แบรด คอฟแมน จากบริษัทกรีนเบิร์ก ทรอริก ของสหรัฐฯ กล่าวว่า "นายเจนคินส์คาดการณ์ถึงสภาพแวดล้อมที่ท้าทายในปี 2008 เขาจึงได้หาคำปรึกษาทางกฎหมายทั้งจากภายในและภายนอกในทุก ๆ เรื่องที่อยู่ภายใต้ข้อกล่าวหาของ SFO"

การไต่สวนของ FCA



นายวาร์ลีย์ เป็นหนึ่งในนายธนาคารแถวหน้าของอังกฤษ เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบาร์เคลย์นาน 6 ปี

บาร์เคลย์ได้เงินจากกาตาร์ 7,000 ล้านปอนด์ หรือราว 300,000 ล้านบาท ในปี 2008 ในช่วงที่หลายธนาคารกำลังหลีกเลี่ยงการเผชิญกับการถูกโอนกิจการไปเป็นของรัฐ SFO ได้ตรวจสอบการที่ทางบาร์เคลย์จ่ายเงินให้แก่กาตาร์ในช่วงเดียวกับที่มีการระดมทุนและหลังจากนั้นว่า การจ่ายเงินเหล่านั้นมีการเปิดเผยอย่างถูกต้องหรือไม่ และอาจจะเป็นการจูงใจให้กาตาร์ให้การสนับสนุนแก่บาร์เคลย์หรือไม่

โดยเงินทุนฉุกเฉินก้อนนี้ช่วยทำให้บาร์เคลย์ไม่ต้องรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในปี 2008 ขณะที่คู่แข่งอย่าง กลุ่มธนาคารลอยด์ และรอยัลแบงก์ออฟสก็อตแลนด์ (RBS) จำต้องพึ่งเงินภาษีในการรอดพ้นจากวิกฤต

หน่วยงานกำกับการประกอบธุรกิจการเงินของสหราชอาณาจักร (Financial Conduct Authority - FCA) ยังได้เปิดการไต่สวนใหม่เกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว และเข้าใจว่ากำลังพิจารณาหลักฐานซึ่งอาจจะทำให้มีการพิจารณาค่าปรับจำนวน 50 ล้านปอนด์ หรือราว 2,100 ล้านบาทใหม่ หลังจากที่มีการสั่งปรับธนาคารบาร์เคลย์ไปเมื่อ 4 ปีก่อน เพราะตรวจสอบพบว่าบาร์เคลย์ไม่เปิดเผยการจัดการและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จ่ายให้แก่นักลงทุนชาวกาตาร์ แต่บาร์เคลย์คัดค้านค่าปรับดังกล่าว และขอให้ชะลอการจ่ายค่าปรับไว้ก่อนระหว่างที่ SFO กำลังสอบสวนเรื่องนี้

ไซมอน แจ็ค บรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจของบีบีซี ระบุว่า สิ่งที่นำไปสู่การตรวจสอบของ SFO ในกรณีมีอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือการจ่ายเงินที่ระบุว่าเป็นบริการ "ที่ปรึกษา" ให้แก่บริษัทกาตาร์โฮลดิง ซึ่งไม่มีการเปิดเผยข้อมูลนี้ในตอนแรก บาเคลย์ยอมรับในเวลาต่อมาว่า มีการจ่ายเงิน 332 ล้านปอนด์ หรือราว 14,300 ล้านบาทให้แก่บริษัทนี้ในช่วงเวลา 5 ปี ข้อกล่าวหาก็คือข้อตกลงที่ปรึกษานี้ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นเพียงแต่ข้อตกลงที่ทำขึ้นเพื่อเอาใจผู้สนับสนุนทางการเงินรายใหม่ของบาร์เคลย์เท่านั้น


Simon jack

ส่วนเรื่องที่สอง คือ เงินกู้ 2,000 ล้านปอนด์ หรือราว 86,000 ล้านบาท ที่บาร์เคลย์มอบให้แก่ชาวกาตาร์ในช่วงที่ใกล้เคียงกับที่มีการระดมทุน ที่ปรึกษาของนักลงทุนรายหนึ่งได้อ้างต่อศาลว่า บาร์เคลย์ปล่อยกู้ให้แก่กาตาร์โฮลดิงเพื่อให้นำเงินนี้มาลงทุนในหุ้นของบาร์เคลย์ ข้อกล่าวหานี้ก็คือทางธนาคารบาร์เคลย์กำลังปล่อยกู้ให้แก่ตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันกำกับธนาคารยอมรับไม่ได้อย่างมาก และทาง SFO ระบุว่าเรื่องนี้เทียบเท่ากับการมอบความช่วยเหลือทางการเงินที่ผิดกฎหมาย

'การกระทำผิดอาญาที่ไม่มีผู้เสียหาย'?

บรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจของบีบีซี ระบุว่า การโต้แย้งของบาร์เคลย์ระบุว่า ธุรกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วงที่มีภาวะตึงเครียดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในตลาดการเงิน และบาร์เคลย์พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการถูกโอนกิจการบางส่วนให้เป็นของรัฐ

ผู้เสียภาษีไม่ต้องมาอุ้มบาร์เคลย์ และผู้ถือหุ้นรายย่อยก็ไม่ได้รับความเสียหายจากการขาดทุนมหาศาลอย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับ ลอยด์ และ RBS อดีตคนวงในของบาร์เคลย์กล่าวว่า ถ้ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ก็ถือเป็นการกระทำที่ไม่มีผู้เสียหาย และอาจจะโต้แย้งได้ว่า บาร์เคลย์ และผู้บริหาร ทำให้ผู้จ่ายภาษีและผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับผลประโยชน์มหาศาล

ข้อมูลจาก:BBC News
[Link]

Reply
Vote




1 online users
Logged In :