Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
[ไม่ใช่การเมืองไทย] กระทู้ 'การเมือง/ความมั่นคง/เศรษฐกิจ/' ระหว่างประเทศ

Reply
Vote
# Fri 29 Sep 2017 : 10:05PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5792 post)
ทำเนียบขาวเลื่อนวัน ประยุทธ์ หารือ ทรัมป์ ให้เร็วขึ้น



ทำเนียบขาวมีแถลงการณ์แก้ไขเกี่ยวกับวันที่ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะพบหารือกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จากวันที่ 3 ต.ค. ที่ทำเนียบขาวเป็นวันที่ 2 แทน ขณะที่กำหนดจะเดินทางเยือนสหรัฐฯ ของนายกรัฐมนตรีของไทยตามคำเชิญของผู้นำสหรัฐ ฯ คือระหว่างวันที่ 2 - 4 ต.ค.นี้

แถลงการณ์ล่าสุดของทางการสหรัฐฯ ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยจะเข้าพบหารือกับประธานาธิบดีของสหรัฐฯในวันที่ 2 ต.ค. ไม่ใช่ในวันที่ 3 ต.ค. ตามที่เคยมีการออกแถลงการณ์ไปแล้วก่อนหน้านี้

"ผู้นำทั้งสองชาติจะหาหรือแนวทางในการสร้างความเข้มแข็ง และขยายความสัมพันธ์แบบทวิภาคี และพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก" แถลงการณ์ที่เผยแพร่ในวันที่ 28 ก.ย. (ตามเวลาท้องถิ่น)

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมา พล.ท. วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 2 - 4 ต.ค. นี้นายกรัฐมนตรีของไทยมีกำหนดการเดินทางเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้บริหารระดับสูงของไทยร่วมเดินทาง เช่น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม



สำหรับประเด็นหารือ ได้แก่ ความร่วมมือทั้งด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และสถานการณ์ในระดับภูมิภาค
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐฯค่อข้างเย็นชาภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อ พ.ค. 2557 สหรัฐฯระงับเงินช่วยเหลือทางทหาร ปรับลดระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยจากบัญชีที่ 2 ที่ต้องจับตามอง (เทียร์ ทู วอทช์ลิสต์)ในปี 2556 มาเป็น บัญชีประเภท 3 (เทียร์ 3) ในปี 2557 และ 2558 ก่อนยกระดับกลับมาสู่บัญชีที่ 2 ที่ต้องจับตามอง ในปี 2559 และ 2560 เทียร์ 2.5 เป็นระดับเทียร์ 3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด



หวังกดดันไทย ต่อวิกฤตคาบสมุทรเกาหลี

อย่างไรก็ตาม นโยบายของสหรัฐฯ ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงภายหลังจากนายทรัมป์ เป็นผู้นำของประเทศ โดยเมื่อวันที่ 30 เม.ย. ได้โทรหาพล.อ. ประยุทธ์ เอ่ยปากเชิญมาเยือนกรุงวอชิงตันในครั้งนั้น ก็เพื่อกระชับสัมพันธ์และขอการสนับสนุนในศึกพิพาทกับเกาหลีเหนือ

ในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคาบสมุทรเกาหลี สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานตรงกันก่อนหน้านี้ว่า สหรัฐฯ มีความต้องการให้ไทยตัดท่อน้ำเลี้ยงทางการเงินของเกาหลีเหนือด้วยการปราบปรามบริษัทหลายแห่งของเกาหลีเหนือที่ใช้ไทยเป็นศูนย์ในการทำการค้าผ่านธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นบังหน้า ซึ่งเอเอฟพี อ้างข้อมูลจากระทรวงต่างประเทศของไทยว่ามูลค่าการค้าระหว่างไทยและเกาหลีเหนือระหว่างปี 2552-2557 ยังคงเติบโตขึ้นเกือบ 3 เท่า เป็นมูลค่า 126 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 4.3 พันล้านบาท

หากพล.อ.ประยุทธ์ เดินทางไปสหรัฐฯ จะถือเป็นผู้นำอาเซียนคนที่ 3 ที่เข้าพบประธานาธิบดีทรัมป์ หลังจากนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และนายเหงียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีของเวียดนาม ในปีนี้ และจะมีขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือซึ่งตอนนี้ยังทำ ในสงครามน้ำลาย ระหว่างกัน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายทรัมป์ ได้ขู่เกาหลีเหนือผ่านข้อความทางทวิตเตอร์ว่า "เพิ่งได้ยินเรื่องที่รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีเหนือพูดในที่ประชุมยูเอ็น หากคำพูดของเขาสะท้อนความคิดของมนุษย์จรวดน้อย พวกเขาคงอยู่ได้อีกไม่นาน!"

ในขณะที่เมื่อวานนี้ (25 ก.ย.) เกาหลีเหนือกล่าวหาสหรัฐฯ ว่าประกาศสงคราม พร้อมจะยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดที่โฉบเข้าใกล้



คาดปรับดุลการค้า ผสานความร่วมมือทางทางทหาร

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อทางด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน ระหว่างไทยและสหรัฐฯ คือ การที่สหรัฐฯ ขาดทุนการค้ากับไทย โดยในครึ่งแรกของปีนี้ ไทยมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯในครึ่งแรกของปี 2560 ลดลงมาที่ 4.82 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากยอด 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

เรื่องนี้เป็นประเด็นร้อน เมื่อ มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ลงนามคำสั่งพิเศษ เพื่อดำเนินการตรวจสอบการขาดดุลการค้ากับ ไทย และอีก 15 ประเทศ โดยในปี 2559 ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐราว 1.89 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นอันดับที่ 11 ของประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ



ในเรื่องดังกล่าว ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ทำการศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ภายใตการนำของกระทรวงพาณิชย์และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง

ที่ปรึกษาระดับสูงด้านความมั่นคงของรัฐบาลไทย เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะให้แนวทางการทหาร เช่น การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ในการช่วยในการลดปัญหาการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศได้



ในเรื่องดังกล่าว ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ทำการศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ภายใตการนำของกระทรวงพาณิชย์และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง
ที่ปรึกษาระดับสูงด้านความมั่นคงของรัฐบาลไทย เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะให้แนวทางการทหาร เช่น การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ในการช่วยในการลดปัญหาการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศได้




ข้อมูลจาก:BBC ไทย [Link]


Reply
Vote




4 online users
Logged In :