Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
This thread is locked
สนทนาประสาการเมือง ��าค VII

Reply
Vote
# Thu 17 Jan 2019 : 2:32PM

Sukoy
member

Since 24/6/2005
(15468 post)
เรื่องฝุ่นแบบไม่ไร้สาระ

ช่วงนี้เห็นฝุ่นบ้านเมืองแล้วละเหี่ยใจ เคยเขียนและพูดไว้เมื่อ 5 ปีก่อน สมัยโน้นไม่ค่อยมีคนรู้จัก PM2.5 แทบไม่มีใครพูดถึง externality นี้เลย พูดกับใครเขาก็จะบอกว่าเรื่องไม่เป็นเรื่อง (ประมาณมึงวิจัยเรื่องอะไรนะเอาอีกที) แต่ตอนนี้ดันฮิตมาก (เมื่อรู้สึกกับตัวเอง) จะไม่พูดยาวเพราะมีเกจิอาจารย์เขียนไว้เยอะแล้ว ขอเขียนในมุม public policy ปนบ่นสั้นๆ จากที่เคยทำวิจัยและบ้าเรื่องนี้

1. กิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์สร้างมลภาวะอากาศมากที่สุด เพื่อนบ้านทำซวยถามว่าเป็นไปได้ไหม เป็นไปได้ ถ้ามีระดับไฟป่าร้ายแรงแล้วลมมันพัดมาสุดๆ แบบเห็นในภาพถ่ายดาวเทียม (เคยจะเอามาเขียนวิทยานิพนธ์ใช้เป็น instrumental variable แต่มันไม่ defensible พอ) แต่โดยปกติแล้ว เผาเองดมเอง ทำตัวเองทั้งนั้น เครื่องบินนี่ตัวดีครับ ไม่ค่อยมีคนพูด

2. มลภาวะอากาศเป็นความผิดใคร ความผิดคนเผาครับ ไม่ต่างจากการสูบบุหรี่รดหน้าคนอื่น แต่ถามว่าการไปห้ามคนขับรถ ห้ามเผาโน่นนี่ ห้ามเครื่องบินบินผ่านที่อยู่อาศัย ก็เหมือนการไปห้ามคนสูบบุหรี่ ไม่มีใครห้ามได้ในสังคมโมเดิร์นนอกจากภาครัฐ (หรือผู้ดูแลสถานที่) เพราะ private incentive คือเผาผลาญเยอะๆ ให้สะดวก ให้รวย ให้สุข แต่ public incentive คืออย่าเผามากนัก เผาแต่พอประมาณ เป็นปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เพียวๆที่มีทางแก้วางไว้แล้วครบ แค่ต้องฟาดฟันกันจนได้ solution ที่ดีที่สุดออกมา

3. เรื่องนี้ต้องแก้ที่ต้นน้ำ และไม่ได้แก้ได้ด้วยมุมมองวิทยาศาสตร์/แพทย์อย่างเดียว มันต้องการ political will ที่มากพอ ที่น่าศึกษาคือในสหรัฐฯ มันฟาดฟันจนออก clean air act มาได้อย่างไร ที่กำหนด standard มาในแต่ละท้องที่ว่า อย่าให้มลภาวะทางอากาศเกิน y ในช่วง x ชั่วโมงนะ และยังมีกฎอีกร้อยแปดที่พ่วงมา เช่น บังคับตรวจท่อไอเสียทุกปี (แล้วแต่รัฐ) อาจเกี่ยวกับตอน oil crisis ผู้มีความรู้ด้านการเมืองสหรัฐฯ แจ้งทีครับ

4.ออกกฎหมายลดการเผาผลาญได้บุญมหาศาล (Thai context!) นักวิจัยหลากสาขาวัดออกมาแล้วและคนช่วยผลักดัน clean air act น่าจะขึ้นสวรรค์ชัวร์ๆ เพราะมันช่วยชีวิตคนให้รอดตายจากโรคทางเดือนหายใจไปได้เยอะ และพวกที่ไม่ตายก็ไม่ต้องป่วยให้เสียอารมณ์ ส่วนพวกที่ไม่ป่วยก็ทำงานมีผลิตผลขึ้นส่วนพวกที่ยังเด็กก็ cognitive skills ไม่เจ๊ง (นอกจากปอดด้วย) ส่วนพวกที่ยังไม่เด็กเพราะยังไม่เกิดก็จะไม่ต้องซวยเกิดมาน้ำหนักตกเกณฑ์ ฯลฯ เพียงเพราะแม่เลือกหลบควันไม่ได้

5.ถามว่าฟาดฟันกับ private incentives และ lobbyist ที่อยากเผา หรือมี agenda ส่วนตัวที่ยังไม่อยากให้รัฐฟันธงไปกับเทคโนโลยีสะอาดบางประเภทจนกว่าจะชัวร์ เค้าฟาดฟันกันยังไง ในสหรัฐฯ นักเศรษฐศาสตร์เสนอการวัดมูลค่าชีวิตเชิงสถิติ เมื่อวัดได้ว่าชีวิตอเมริกันโดยเฉลี่ยมีค่าราว 6-8 ล้านดอลลาร์ การที่นโยบายลดการเผาผลาญสามารถช่วยคนได้จำนวนนึงไม่ให้ตายก่อนวัยอันควร ก็เอาไปคูณกันกับจำนวนนี้ ส่วนพวก industry ที่ถูกกระทบเค้ามีตัวเลขเค้าอยู่แล้วว่าเสียหายเท่าไหร่ที่ไม่ให้เผาเท่าเดิม เอาสองเลขนี้มาชนกัน สุดท้ายถ้าคนมีตรรกะดีพอจะเลือกข้างที่มีผลดีมากกว่า ควรทำอย่างยิ่งเพราะมันจะช่วยให้การฟาดฟันจบลงเร็วขึ้น เห็นนโยบายเร็วขึ้น แทนที่จะมีแต่ inaction

6.But wait there’s more. เมื่อห้าปีก่อนผมไปทำวิจัย เขาไปถึงการ forecast AQI เหมือน weather forecast เพื่อที่จะให้แม่และเด็ก หรือพวกกลุ่มเสี่ยง เขาวางแผนชีวิตวันรุ่งขึ้นได้ จะได้ไม่ตายเพราะ sunk cost (ผมซื้อทัวร์ออกไปเดินข้างนอกพรุ่งนี้แล้ว ผมเสียดายเงิน ผมยอมเสี่ยงตาย) ได้บุญอีกขั้นเนื่องจากเป็นการช่วยไม่ให้คนทั่วไปตกบ่อต้องห้ามชื่อ sunk cost fallacy

7.ไม่ได้มีแต่ PM ที่น่ากลัว Ozone กับ Nox ก็น่ากลัว และบางตัว มองเอาไม่ได้ มันมองไม่เห็นในอากาศ ต้องอ่านค่าเอา ก็หวังว่าจะมีเครื่องอ่านค่ากันให้กระจายกว่านี้ในเมืองใหญ่ๆ

8.กลับไปธีมเดิม ปัญหานี้คือปัญหา private incentive vs public incentive บ้านเราอ่อนมากในการแก้ปัญหาประเภทนี้ (ยกเว้นตอนถํ้าหลวง) ไม่มีความเป็นญี่ปุ่นในสายเลือด

9.ทางเลือกระยะสั้นคือ 1) ใส่หน้ากาก 2) อยู่ในอาคารมากๆ 4) บ่น 5) กูเกิลศึกษาการขอสัญชาติประเทศที่ลูกผมจะวิ่งเล่นข้างนอกได้ ซึ่งอาจต้อง 6) ไปเรียนภาษาฝรั่งเศส

Napat Jatusripitak
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3400358522887&id=1087500572

Reply
Vote




2 online users
Logged In :