Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
This thread is locked
กระทู้การเมือง ��าค 6 (แจ้งล่วงหน้าว่ากระทู้การเมืองจะปิดชั่วคราวในเวลา 15...

<<
<
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
>
>>
Reply
Vote
# Sun 22 Jan 2017 : 11:09PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)


ผมชอบเบียร์ หนุ่มจบนิติศาสตร์ไม่เป็นนักกฎหมาย หมักข้าวบาร์เลย์ต้มขายเอง

หนุ่มเมืองนนท์ เพิ่งเรียนจบนิติศาสตร์มาหมาดๆ เป็นคนชอบดื่มเบียร์ เลยคิดสูตรหมักดื่มเอง ปรากฏว่าอร่อยเลยลงทุนต้มขายเพื่อนๆ พี่ๆ เรื่องถึงหูสรรพสามิตบุกจับยึดของกลางข้าวบาร์เลย์ อุปกรณ์ต้มกลั่นเพียบ...

[Link]


############################################################################################


Patcharawee Brahmawong

เรื่องนี้ปกติไม่อยากเขียน แต่คราวนี้ขอเขียน เพราะเห็นว่ามีคนเข้าใจผิดอยู่มาก

เหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มมึนเมาอื่นๆ ทุกชนิด ทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นสินค้าที่ก่อมลพิษภายนอก(= ต่อสังคม)ในการบริโภค หมายความว่า การดื่มเครื่องดื่มเหล่านั้น แม้เพียงในระดับเล็กน้อย ก็ก่อให้เกิดต้นทุนแก่คนที่ไม่ใช่ตัวผู้ดื่ม ในรูปของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอุบัติเหตุและการทะเลาะวิวาท ตัวอย่างที่เลวแก่ผู้อื่นโดยเฉพาะเยาวชน ต้นทุนการรักษาพยาบาลที่จ่ายโดยครอบครัวและรัฐ และความสูญเสียทางจิตใจของญาติมิตร ฯลฯ โดยที่ผู้ที่ดื่มเหล่านั้นไม่ได้นำต้นทุนเหล่านี้มาคิดในการดื่มในแต่ละแก้วหรือในแต่ละอึก

ดังนั้น เศรษฐศาสตร์จึงถือว่า สวัสดิการสังคมจะเพิ่มขึ้นหากรัฐควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นตามกลไกตลาดเสรี ซึ่งกลไกที่เหมาะสมที่สุดคือ ภาษีบาปหรือโควต้า(จำกัดปริมาณ)

เนื่องจากระดับพัฒนาการทางสังคมเศรษฐกิจและระบบราชการของไทยไม่เอื้อให้การเก็บภาษีในระบบตลาดเสรีทำได้อย่างทั่วถึง หรือการกำหนดโควต้าก็ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เพราะเกิดตลาดมืดขึ้น)

และเนื่องจากประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยทำให้เกิดระบบผูกขาด ซึ่งตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ จะทำให้มีราคาสูงกว่าและมีปริมาณการผลิตต่ำกว่าระบบตลาดเสรี ต้นทุนภายนอกต่อสังคมที่เกิดขึ้นจึงมีค่าต่ำกว่าไปด้วย เป็นผลให้สวัสดิการสังคมที่ประชาชนโดยรวมได้รับนั้นสูงกว่าในระบบตลาดเสรี

ดังนั้น ภาครัฐจึงปล่อยสถานการณ์ให้ดำรงอยู่อย่างเช่นปัจจุบัน

อนึ่ง การค้าขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (มัชชวาณิช) จัดเป็น 1 ใน 6 มิจฉาอาชีพ ซึ่งเป็นเครื่องปิดกั้นการบรรลุธรรม


###################################################


เรื่องเสรีนี่เถียงกันไม่จบ อันนี้ก็เป็นอีกแง่มุมหนึ่ง


# Mon 23 Jan 2017 : 10:14AM

PNA888
member

Since 2014-09-08 12:28:47
(4154 post)
- - เสียดายนะจบถึงนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ อยู่คู่กับกกหมายแท้ ๆ ไม่น่าตัดอนาคตตัวเองเลย เด็กปีหนึ่งยังพอว่าแต่อายุขนาดนี้แล้ว...
View all 2 comments >

# Mon 23 Jan 2017 : 11:00AM

Bergkamp
member

Since 26/5/2006
(12601 post)
ต้องบุกรวบจับตาคัตโตะด้วย ฐานครอบครองเบียร์ไว้แต่เพียงผู้เดียว


View all 5 comments >

# Mon 23 Jan 2017 : 12:04PM

Kiva
member

Since 2014-12-29 16:21:35
(2906 post)
สายเคเบิ้ลก็ยังมีสินบน
[Link]

# Mon 23 Jan 2017 : 12:24PM

Kiva
member

Since 2014-12-29 16:21:35
(2906 post)
หลักฐานเด็ด!มติ ครม.ปี 47 คดีสินบนโรลส์รอยส์-'สุริยะ'ชงเปลี่ยนซื้อ'B777' 6 ลำ
[Link]

# Mon 23 Jan 2017 : 2:27PM

Valakus
member

Since 2/5/2010
(14131 post)
แภวบ้านผมก็ต้มเหล้ากินกันนะ มีงานทีก็เปิดขวดที เห็นว่าอร่อยกว่าเหล้าท้องตลาด ไม่เมามากด้วย

# Mon 23 Jan 2017 : 4:14PM

zookx
member

Since 2014-06-04 06:28:05
(1901 post)
คราฟเบียร์ไทยดีๆเยอะครับ
แต่หนีออกนอกไปผลิตแล้วส่งกลับเข้ามา โดนภาษีหนักหน่วง
เอาจริงๆคราฟเบียร์ไทยอร่อยๆเยอะนะครับ
แต่กฎหมายที่มีก็จำกัดมากยังไงก็ไม่รอด ทำได้แค่ไปต้มนอกส่งกลับเข้ามาขาย

# Mon 23 Jan 2017 : 5:12PM

marcust
member

Since 22/9/2008
(9835 post)
สมัยผมเรียน ปี 4 นี่ผม ลงทะเบียนเทอมนึงไม่กี่หน่วย เพื่อนๆ กลุ่มเด็กเรียนนี่ลงเรียนวิชาเลือกกัน

ผมลงเอาแค่จบ คราฟ ไวน์ (สารพัดประเภท) คราฟ สาโท กินกันสนุกสนานมาวทุกวัน

# Mon 23 Jan 2017 : 7:12PM

suede
member

Since 23/4/2006
(21902 post)
การคราฟต์เบียร์มันคือศิลปะนะ แน่นอนรวมทั้งไวน์ก็ด้วย

แต่จะพูดยังไงมันก็ผิด กม. ไทยละนะ

อันนี้พูดคุยเล่าให้ฟังกันก็แล้วกัน
อยาจะบอกว่า ตอนแรกผมไม่ได้ชื่นชอบอะไรมากกับเบียร์หรอก เพราะคิดว่าเป็นของกระจอกๆ กินแล้วขม กินแล้วเมา อุบัติเหตุ วิวาท

แต่พอได้มาต้มเองเท่านั้นแหละ แม่คุณเอ้ยยยย

กลิ่นมอล์ทที่แสนหอม ยิ่งถ้าไม่ได้ใช้มอล์ตสกัดเข้มข้น แต่เป็นการ เอาบาร์เลย์มาบดแล้วต้มเนี่ยะ กลิ่นนี่สุดยอดเลย หอมกว่าโอวัลติล
แล้วมอล์ตมันก็มีหลายสายพันธุ์ หลายกลิ่น ขึ้นอยู่กับการอบอีก

การผสมมอล์ตต่างๆ แล้วก็ ไอ้ดอกฮอปส์นี่แหละ สุดๆของความหอม

จะว่าง่ายก็ง่าย เพราะแค่ต้มมอล์ท ใส่ ฮอปส์ กรอง ใส่ยีสต์ หมักรอเวลา จบ

แต่จะว่ายากก็ยากคือการต้องทำให้ได้เหมือนเดิม ควบคุมความสะอาด รสชาติ

ตอนที่หมักเองสำเร็จ แม่เจ้า รสชาติคนละเรื่องกับ สิงห์ ช้าง ลีโอเลย คือ มันหอม มัน ได้กลิ่นมอล์ตกลิ่นฮอปส์ ความขมที่ได้จากฮอปส์มันลุ่มลึกมาก อนึ่งมันเป็นเบียร์คนละชนิดกับ สิงห์ช้างอะนะ เพราะมันเป็น Ale แต่จะกรองให้ใส หรือหมักให้ใส ได้อารมณ์ สิงห์ช้าง มันก็พอได้ทำดีๆอร่อยกว่ามาก พอๆกับที่เค้านำเข้ามาขายเลยยังได้

ตอนที่ทำเป็นนี่แหละ เลยเข้าใจเหมือนกันว่า ที่เค้าไม่อยากให้ทำขายเอง เรื่องความปลอดภัย ภาชนะ ส่วนผสม ความสะอาด ก็เรื่องนึง แต่ด้วยความที่มันง่าย หลากหลาย หากเปิดเสรีได้ ถ้าราคามันสู้ไหว รายใหญ่มีลำบาก

ตอนแรก ยอมรับว่าเคยมองภาพลักษณ์ของเบีบยร์ว่า เป็นของไม่ดี ขม ไร้ประโยชน์
พอทำเองเป็น เข้าใจละ ทำไมมันคือเครื่องดื่มที่คนนิยมมากที่สุดในโลก และมีประวัติมายาวนานกว่า 6000 ปี

# Mon 23 Jan 2017 : 8:51PM

Ramza
member
บีบตูดชายแล้วร้องซี๊ด
Since 17/9/2007
(18892 post)
ผมเห็นพวก เหล้า ไวน์ เบียร์ เครื่องดื่มแอล

พวกท้องถิ่นมีแบรนด์ สินค้าชุมชนเล็กๆ รึพวก OTOP ก็ทำขายกันได้นะ

ส่งโรงแรม, ส่งนอก บลาๆ มีสแตมติด

ไม่รู้เค้าดำเนินการตรงนี้ ภาษีเอย เสียเท่าที่ลงๆข่าวดราม่ากันรึป่าว

# Mon 23 Jan 2017 : 8:58PM

Kiva
member

Since 2014-12-29 16:21:35
(2906 post)
แถวนครพนมมีเหล้าสาโทรนะถูกกฏหมาย ขายตามข้างถนนเต็มไปหมด เวลาใครไปชอบซื้อมาฝาก

# Mon 23 Jan 2017 : 9:10PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)
วิเคราะห์ พรบ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับใหม่

09/10/2016

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2547 – 2548 ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมงานกับกรมสรรพสามิต ในการให้ความรู้แก่ผู้ผลิตสุราชุมชนในโครงการจัดอบรมต่างๆ ของกรมฯ ผู้เขียนจึงได้พบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่นักวิชาการในกรมสรรพสามิตอยู่หลายครั้ง มีนักวิชาการท่านหนึ่งได้เอ่ยเปรยๆ ว่ากรมสรรพสามิตมีแผนที่จะปรับปรุงโครงสร้างภาษีใหม่ทั้งหมด โดยยกเลิก พรบ. ต่างๆ รวมทั้ง พรบ. สุรา พ.ศ. 2493 แล้วนำมารวมกันเป็น พรบ. ฉบับเดียว

กาลเวลาล่วงเลยมาสิบกว่าปี ณ บัดนี้ กรมสรรพสามิตได้ร่าง “พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. …” แล้วเสร็จ นำเสนอผ่านคณะรัฐมนตรี และกำลังรอเข้าสู่การพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หากพิจารณาผ่านความเห็นชอบทั้ง 3 วาระ อาจจะประกาศใช้ภายในต้นปี 2560 เว็บสุราไทยขอสรุปใจความสำคัญและผลกระทบของ พรบ. ฉบับใหม่ ต่อวงการสุราไทย


ยกเลิกกฎหมายเก่า

ใน พรบ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. … ที่กำลังจะเข้าสู่สภาฯ ได้ยกเลิก พรบ. ไพ่ พรบ. ยาสูบ พรบ. สุรา พรบ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับเก่า พระราชกำหนด ต่างๆ รวมทั้งสิ้น 46 ฉบับ เป็นอันสิ้นสุดอายุขัยของ พรบ. สุรา พ.ศ. 2493 ที่ใช้บังคับมา 66 ปี



เปลี่ยนจากราคาขายส่งหน้าโรงงานเป็นราคาขายปลีกแนะนำ

การเก็บภาษีสุราในปัจจุบัน ยึดหลักการคำนวณจากมูลค่าและปริมาณ นั่นคือ ถ้าเป็นสุราราคาแพง ก็เก็บภาษีตามมูลค่า แต่ถ้าเป็นสุราราคาถูกแต่มีดีกรีแรง อย่างเช่นเหล้าขาว ก็ให้เก็บภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์ สำหรับการเก็บภาษีตามมูลค่า ปัจจุบันคิดตามราคาขายส่งหน้าโรงงาน แต่ พรบ. ฉบับใหม่ กำหนดให้เก็บภาษีตาม “ราคาขายปลีกแนะนำ” ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า “Recommended Retail Price” โดยเป็นราคาที่ผู้ผลิตกำหนดเป็นราคาขายสุดท้ายที่ผู้บริโภคซื้อ ณ จุดขายปลีก แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยราคาขายปลีกแนะนำ จะคำนวณจาก

1. ต้นทุนการผลิต

2. ค่าบริหารจัดการ

3. กำไรมาตรฐาน

4. ต้องไม่ต่ำกว่าราคาขายต่อผู้บริโภคทั่วไปรายสุดท้ายในตลาดปกติ

ราคาขายปลีกแนะนำที่ใช้คำนวณภาษีนี้ ให้ใช้ราคาขายปลีกที่พบโดยทั่วไป หรือเป็นปกติส่วนใหญ่ เนื่องจากราคาขายปลีกของสินค้าชนิดหนึ่ง ย่อมมีราคาขายแตกต่างกันตามสถานที่จำหน่าย เช่นในห้างโมเดิร์นเทรดอาจจะขายถูกกว่าตามร้านค้าปลีกทั่วไป ก็อาจเกิดข้อถกเถียงว่าจะให้เลือกใช้ราคาไหน


นอกจากนั้นการต้องสำแดงรายละเอียดต้นทุน ค่าบริหาร และกำไร ต่อกรมสรรพสามิต ก็ทำให้ผู้ผลิตเกิดความระแวง เพราะข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับทางการค้า หากเปิดเผยให้รัฐได้ทราบ ก็อาจจะส่งต่อข้อมูลไปให้กับกรมสรรพากร เพื่อนำไปเก็บภาษีรายได้ เพราะรู้ต้นทุนกำไรของผู้ประกอบการอย่างหมดไส้หมดพุง ถือเป็นการล้วงลูกที่ผู้ประกอบการยอมรับไม่ได้ และทราบว่าขณะนี้ทางผู้ประกอบการก็ได้ยื่นหนังสือคัดค้านเสนอต่อคณะกรรมาธิการในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อขอให้แปรญัตติแก้ไขร่าง พรบ. ในส่วนนี้

เหตุที่เปลี่ยนจากการคิดภาษีตามมูลค่าจากราคาขายส่งหน้าโรงงาน มาเป็นราคาขายปลีกแนะนำ คงเป็นเพราะกรมสรรพสามิตต้องการป้องกันผู้ผลิต และผู้นำเข้า ที่แจ้งราคาขายส่งไว้ต่ำเกินความเป็นจริง โดยการใช้ราคาขายปลีกแนะนำ จะเป็นการคำนวณภาษีจากราคาสุดท้ายที่ถึงมือผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า ไม่สามารถตั้งราคาต่ำกว่าความจริงได้

นอกจากนั้น ถ้ากรมสรรพสามิตเห็นว่า ผู้ผลิตจงใจแจ้งราคาขายปลีกต่ำกว่าความเป็นจริง อธิบดีก็มีอำนาจที่จะกำหนดราคาขายปลีกแนะนำได้เอง !! แบบนี้จะเกิดอะไรขึ้นลองคิดดูก็แล้วกัน


เปลี่ยนบัญชีพิกัดอัตราภาษี

ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีแนบท้าย พรบ. มีอัตราภาษีสุราประเภทต่างๆ ตามมูลค่าและตามปริมาณ เป็นเพดานสูงสุดที่ตั้งไว้เผื่อใช้ในอนาคต แต่สำหรับอัตราที่จะประกาศใช้จริง จะออกเป็นกฎหมายลูก (อนุบัญญัติ) ซึ่งยังไม่มีใครทราบว่าจะกำหนดอัตราเป็นเท่าใด อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราที่จะประกาศใช้ จะยังไม่กระทบกับราคาสุราที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมากนัก เพียงแต่เปลี่ยนจากการเก็บภาษีตามราคาขายส่ง มาเป็นราคาขายปลีก ดังเหตุผลข้างต้น

อัตราพิกัดภาษี เพดานสูงสุดแนบท้าย พรบ.



อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า

แต่เดิมไม่มีการแยกสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่น ออกมาเป็นชนิด (ค) แต่ในบัญชีอัตราภาษีนี้ แยกออกมาเป็นอีกชนิดหนึ่ง และกำหนดให้มีพิกัดสูงสุดเท่ากันกับไวน์องุ่น ทั้งนี้น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีการนำไวน์ผลไม้มาผสมกับไวน์องุ่น แล้วเสียภาษีในอัตรา สุราแช่ชนิดอื่น ซึ่งมีอัตราต่ำกว่าภาษีไวน์องุ่นมาก ดังที่เว็บสุราไทยได้อธิบายไว้ก่อนนี้แล้วดังบทความข้างล่าง

[Link]

และเมื่อเว็บสุราไทยได้ข่าวแว่วๆ มา ว่ากรมสรรพสามิตจะปรับอัตราภาษีไวน์ผลไม้ผสมองุ่นให้เท่ากันกับไวน์องุ่น เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย เราก็ได้แจ้งข่าวไว้แล้วในบทความนี้

[Link]

และบัดนี้ข่าวดังกล่าวก็เป็นความจริงเมื่อ พรบ. ภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ ได้เพิ่มประเภทของไวน์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง คือ “ชนิดสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น” และมีอัตราภาษีเท่ากับไวน์องุ่น นั่นคือ ภาษีตามมูลค่า ร้อยละ 30 หรือภาษีตามปริมาณ 3,000 บาทต่อหนึ่งลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (100 ดีกรี)

หมดสิ้นกันเสียที กับไวน์นำเข้าผสมกระเจี๊ยบ ทับทิม แอลเปิ้ล แพร์ พลัม ฯลฯ แล้วติดฉลากโชว์ความเป็นไวน์นอก แต่ขายราคาไวน์โอทอป หรือแม้จะยังมีจำหน่ายอยู่ แต่ก็ต้องขายในราคาสูงขึ้นไม่น้อย



ในร่าง พรบ. สรรพสามิต ฉบับที่กำลังจะเข้าสภา กำหนดให้ไวน์ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นเสียภาษีเท่ากับไวน์องุ่น รีบไปซื้อไวน์ผสมผลไม้ราคา 295 บาท มาตุนไว้ได้แล้ว


ค่าธรรมเนียมแสนแพงจริงหรือไม่

ที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ มีข่าวรั่วในวงการคนทำเหล้า ว่าค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำสุราจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 100,000 บาท (เดิมปีละ 2,000 บาทสำหรับสุรากลั่นชุมชน) ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 (ขายส่ง) ปีละ 100,000 บาท (จากเดิมปีละ 8,250 บาท) และประเภทที่ 2 (ขายปลีก) ปีละ 50,000 บาท (เดิม 1,100 บาท)

จากอัตราค่าธรรมเนียมแนบท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่นี้ กำหนดไว้เช่นนั้นจริง แต่เป็นอัตราเพดานสูงสุด โดยมาตรา 5 ได้เขียนไว้ว่า “ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้” ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ค่าธรรมเนียมจะไม่แพงจนถึงเพดานสูงสุด แต่ก็อาจจะแพงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งขณะนี้เราไม่อาจคาดเดาได้


ค่าปรับเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับยุคสมัย

ในพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ได้กำหนดโทษการผลิตสุราเถื่อน และการขายสุราเถื่อนไว้ คงเป็นราคาที่แพงมากในสมัยนั้น นั่นคือ

มาตรา 30 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 5มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการทำสุราแช่มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

จะเห็นว่า ถ้าทำและขายสุรากลั่นแบบเถื่อน ปรับ 10,000 แต่ถ้าทำคราฟต์เบียร์ ค่าปรับเพียง 200 บาท


แต่ใน พรบ. ฉบับใหม่ กำหนดโทษผู้ทำสุราเถื่อน ไว้ว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (จาก 5,000 บาท เมื่อปี 2493 เพิ่มเป็น 100,000 บาท ในปัจจุบัน)

ผู้ใดขายสุราเถื่อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ของเดิม 5,000 บาท)

ผู้ใดซื้อหรือมีสุราเถื่อนไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (เดิม 1,000 บาท) แต่ถ้าสุรานั้นมีปริมาตรต่ำกว่าหนึ่งลิตร (สมมุติซื้อเบียร์ใต้ดินมาขวดนึง) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ก็พอไหวอยู่นะ)





พรบ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับใหม่ (ใช้แทน พรบ. สุรา 2493) เพิ่มโทษผู้ขายสุราเถื่อนจาก 5,000 เป็น ไม่เกิน 50,000 บาท ผู้ซื้อสุราเถื่อนมีโทษปรับ 2,000 บาท ผู้ผลิต สรถ. มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับหนึ่งแสน #CraftBeer พึงตระหนัก


มีผลบังคับใช้เมื่อไร

ขณะนี้ผู้เขียนยังไม่ได้ข่าวคราวว่าร่าง พรบ. ดังกล่าวผ่านสู่ขั้นตอนใด เพราะเพียงได้รับตัวร่าง พรบ. มาจากเครือข่ายพันธมิตร เพื่อขอความคิดเห็นในการเสนอให้มีการแปรญัติในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากนั้นใน พรบ. ยังกำหนดว่า พรบ. นี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน (6 เดือน) นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป




ร่าง พรบ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. … (PDF) [Link]

เราจึงยังมีเวลาทำมาหากินกันต่อไปอีกเกือบปีแหละนะท่านทั้งหลาย

# Mon 23 Jan 2017 : 11:11PM

Sukoy
member

Since 24/6/2005
(15464 post)
Craft beer ทำให้ถูกกฎหมายปัจจุบันนี่ยากมาก

จริงๆ กฎหมายมันไม่ได้ห้าม และปัญหามันไม่ใช่เรื่องภาษี เพราะผู้ผลิตคงโอเคกับการเสียภาษี ถ้ายอมให้เขาทำ

ปัญหาหลักคือ กฎเกณฑ์การตั้งโรงงานผลิต ต้องมีขนาดใหญ่มากๆ กำลังผลิตต้องมากกว่า 1 ล้านแกลลอนต่อปี (3.7 ล้านลิตร) ถึงจะทำได้ กฎข้อนี้คงมาเพราะรายใหญ่ดักไว้ เพื่อให้คู่แข่งรายใหม่ไม่ได้เกิด

คราฟท์เบียร์ไทยที่ถูกกฎหมาย เลยใช้วิธีไปผลิตเมืองนอก แล้วนำเข้า อย่างเช่นชาละวัน ซึ่งต้นทุนก็เหมือนๆ เบียร์นอกไป ไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับเจ้าเก่าได้
[Edited 1 times Sukoy - Last Edit 2017-01-23 23:12:33]
View all 1 comments >

# Tue 24 Jan 2017 : 12:55AM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)
เท่าที่อ่านๆมานะ

กม.เก่าที่ว่าผลิตเบียร์ต้องขนาดเล็กบริวผับ หรือทำเป็นโรงงานใหญ่ไปเลยเท่านั้น ถูกศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนไปแล้ว คือยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง กับอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1-3 คือระดับโรงงานสุรา เบียร์ ไวน์ และสุราแช่ ถูกยกเลิก (ไม่รวมสุรากลั่น)

ช่วงนี้มันเลยเป็นช่วงชุลมุน +ปฏิรูป พวกเหล้าชุมชน เบียร์ ก็กำลังไปเสนอ ให้กรมโรงงาน กับสรรพสามิตพิจารณากฎเกณฑ์กัน อย่างเบียร์ก็เรื่องพื้นที่โรงงาน แต่ก็นั่นแหละเจ้าใหญ่เค้ามีอิทธิพลกับทุกรบ. เจ้าใหญ่ก็คงไม่ปล่อยให้รายเล็กเติบโตมาแย่งตลาด อุตส่าห์จ่ายค่าที่ปรึกษาให้คนใหญ่คนโต ศานิตย์ ผบช.น.รับเงินเดือน 5 หมื่น จากบ.เบียร์ไทยเบฟ ก็คงไม่ได้จ่ายให้มานั่งเฉยๆอยู่แล้ว

และรายเล็กขออนุญาตถูกต้อง กับเถื่อน คนละพวกกันนะ เพราะพวกรายเล็กก็บ่นว่าหาเรื่องแต่รายเล็ก หาเรื่องจะปิด แต่เถื่อนเต็มบ้านเต็มเมืองไม่จัดการ ทำแค่"ปรับ"แล้วปล่อยให้ทำต่อ เพราะสรรพสามิตถูกตั้งเป้าให้ทำยอดรายได้ส่ง ก็เลยไปหาจากค่าปรับมาเพิ่ม แต่พวกรายเล็กเสียภาษีก็เลยเสียเปรียบพวกเถื่อน

# Tue 24 Jan 2017 : 6:36AM

suede
member

Since 23/4/2006
(21902 post)
ที่จริง ก็มีเจ้านึงอะนะ พออดีใกล้บ้าน อยู่เกาะเกร็ด แกก็ดื้อตาใส ต้มเบียร์ขายที่เกาะเกร็ดจนรวย โดนรวบไปมากกว่าหนึ่่งที
ฝร่งฝรั่งมาก็ชอบ คอเบียร์ไทยต้องการควววามแปลกก็ชอบ จัดงานรวมเหลล่าพลพรรคนักคราฟต์ก็เยอะ

แกโดนรวบจนสุดท้ายต้องไปทำให้มันถูก ทำเป็นเรื่องเป็นราวขอจัดตั้งเป็นโรงเบียร์ ซึ่งก็เห็นดำเนินการอยู่ มีการรวบรวมสมาชิกเพื่อทำการเข้าร่วมจำหน่่ายเบียร์ในโรงเบียร์

คือพวกโรงเบียร์เนี่ยะเค้าอนุญาติให้ต้มได้ ขายได้ แต่คนมากินต้องกินในสถาณที่ ห้ามบรรจุขวดขาย คือมันก็ขนส่งไปไหนไม่ได้ เปิดทีก็ลุ้นให้คนมากินที่ร้านอย่างเดียว ค่าเปิดหลายตังเปิดแล้วโฆษณาไม่ได้ เสี่ยงเจ๊ง ต้องมีที่ทางใหญ่โต

ทีนี้พอมานึกถึงกรรมวิธีผลิตเบียร์จริงๆแล้ว
ทั้งขั้นตอน ทั้งพื้นที่มันใช้ไม่ได้เยอะเล้ย จะมีที่ลำบากหน่อยตรง กากบาร์เลย์ที่่ต้มแล้วนี่แแหละต้องกำจัด ถ้าอยู่บ้านนอกก็เอาไปเลี้ยงวัวได้สบายๆ แต่ในเมืองก็คงต้องติดต่อขนสงกันไป หรือไม่ก็ทิ้งไปเลย

เอาจริงๆอย่างน้อยๆ ก็อยากให้ กม. มันอนุญาติให้ต้มกินเองได้อะนะ

มีช่วงนึงเคยคิดว่าจะไปลงหลักปักฐานที่ขอนแก่นเปิดร้านคราฟต์เบียร์เล็กๆ แต่อ่านเจอข้อกฏหมายแล้วหน้ามืดเหมือนกัน

<<
<
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
>
>>
Reply
Vote




1 online users
Logged In :